ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์

(Doctor of Philosophy Program in Medical Biochemistry)

วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรอบรู้และใฝ่รู้ทางวิชาการ โดยเฉพาะวิชาการด้านชีวเคมีและอณูชีววิทยาทางการแพทย์ สามารถคิดและดาเนินการวิจัยได้และผลงานวิจัยมีมาตรฐานเทียบเท่านานาชาติ สร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย ประกอบด้วยการมีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณการวิจัย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการนาความรู้ความสามารถไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

เป้าหมาย เพื่อผลิตบัณฑิตผู้มีสติปัญญา และความรู้คู่คุณธรรม เพื่อดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำของสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ช่วยวิจัย ที่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุล ในหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย โรงพยาบาลและบริษัทที่มีแผนกวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์/อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านชีวเคมีทางการแพทย์และชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ประกอบธุรกิจ/อุตสาหกรรม

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ต้องมีผลการเรียนไม่ต่ากว่าระดับปริญญาเกียรตินิยม มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และมีคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

ภาคภาคต้น
ปีการศึกษา2566
ภาควิชาภาควิชาชีวเคมี
สาขาวิชาชีวเคมีทางการแพทย์
ชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
รหัสหลักสูตร4586 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ชีวเคมีทางการแพทย์
 1.1 เน้นการทำวิทยานิพนธ์ (จบโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต)
 ปริญญาเอก (ในเวลาราชการ)

4587 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ชีวเคมีทางการแพทย์
 1.2 เน้นการทำวิทยานิพนธ์ (จบตรี ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต)
 ปริญญาเอก (ในเวลาราชการ)

4588 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ชีวเคมีทางการแพทย์
 2.1 เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ (จบโท เรียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต)
 ปริญญาเอก (ในเวลาราชการ)

4589 วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ชีวเคมีทางการแพทย์
 2.2 เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ (จบตรี เรียนรายวิชาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต)
 ปริญญาเอก (ในเวลาราชการ)